ARTICLES > Hardware

แนะนำ computer สำหรับใช้งานทั่วไป ประจำเดือน ก.ย. 2559 Turn Back

2016-09-15 18:37:36

หนึ่งเหตุผลของการสร้างบทความนี้ ก็เพื่อเก็บข้อมูลไว้ เผื่อมีใครหรือคนรอบตัวมาขอคำแนะนำ ให้ช่วยเลือกประกอบคอมฯตั้งโต๊ะ
จะได้มาเปิดบทความของตัวเองดูได้เลย และเผื่อมันจะเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆด้วย

เหตุผลสนับสนุน ในการตัดสินใจเลือกใช้อุปกรณ์ ส่วนประกอบต่างๆ เป็นการใช้ดุลยพินิจส่วนตัวนะครับ
ไม่ได้มีส่วนได้เสียกับเจ้าของแบรนด์ โดยผมเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ตามปัจจัยหลัก คือ งบประมาณ เป็นหลัก
รองลงมาคือ คุณภาพ ราคา การรับประกัน และส่วนสนับสนุนต่างๆ ที่จะรองรับการทำงานร่วมกัน  และตรงตามการใช้งานของเรามากที่สุด

เริ่มกันที่ Personal Computer (PC) คอมพิวเตอร์ใช้งาน พิมพ์งาน เข้าเว็บ ดูหนัง ฟังเพลง

การเลือกซื้อ อัพเกรดคอมพิวเตอร์

1. CPU

ผมแนะนำ Intel Celeron G3900 (L3 2M Cache, 2.80 GHz) 2Core 2Threads
CPU Socket 1151 ตัวนี้เน้นเรื่องราคาประหยัด ค่าตัวประมาณ 1,400 บาท (+/- 50) รับประกันนาน 3ปี
แต่คุณภาพไม่แพ้ใคร ด้วยเทคโนโลยีการผลิต 14nm ใช้กำลังไฟ 51w (TDP)
รองรับ RAM DDR4 สูงสุด 64GB
CPU ฝังชิปกราฟฟิค HD Graphic 510 มาให้อีกด้วย ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อการใช้งานแบบ Home User

ข้อมูลเพิ่มเติม

หากมีงบเพียงพอ ผมก็มี option ให้เลือกอีก 2 ตัว ได้แก่ cpu ตระกูล pentium
ได้ความเร็ว cpu เพิ่มขึ้นมา พร้อมกับ L3 3M Cache แต่ในแง่ความรู้สึก ไม่ค่อยต่าง

option สุดท้ายเพิ่มเงินอีกเท่าตัว ไปเล่น core i3 gen6 ได้เรื่อง ความเร็ว เทคโนโลยี แต่กินไฟเท่าตัวเล็ก celeron

เปรียบเทียบ CPU 3ตัวที่แนะนำ

 

ส่วน CPU ของอีกค่ายที่ชื่อ AMD จากประสบการณ์ที่เคยสัมผัส ผมไม่แนะนำให้นำมาใช้งานทั่วไปครับ
ทั้งทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ประสิทธิภาพต่อหน่อยราคา AMD ยังไม่เหมาะกับ Home and Office

 

2. Main board

เมนบอร์ด สามารถเลือกได้หลากหลายยี่ห้อ รุ่น แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน เพียงแต่การเลือกใช้ จะต้องคำนึงถึงความเข้ากันได้ของ CPU ด้วย สเปคคร่าวๆ สิ่งที่จะต้องมี (ไม่ need แต่ want)

1. ต้องรองรับ CPU Socket 1151
2. ใช้ chipset intel H110 ขึ้นไป
3. รองรับ RAM DDR4 (จะเอา DDR3 ก็ได้ แต่ราคาต่างกันนิดเดียวจริงๆ)
4. รองรับ SATA3, USB 3.x
5. ถ้าเลือกได้ ก็ควรมี PCIe 3.0 x16, PCIe 2.0 x1
6. ระบบเชื่อมต่อ LAN 10/100/1000 Gb/s
7. ระบบเสียง Audio HD 5.1 ,7.1 Channel
8. ระบบภาพ ที่สามารถรองรับ Graphic Intel built-in
9. ควรมีพอร์ต HDMI

Model ที่แนะนำ
ASROCK H110M-HDV DDR4 - 2200 Baht
ASUS H110M-E-DDR4 - 2200 Baht

ตัวอื่นๆ สามารถหาได้ ในงบที่ผมแนะนำ คือ 2,000 (+/- 200)
เมนบอร์ดส่วนใหญ่ จะรับประกันอย่างน้อยก็ 3 ปี

 

3. Memory -

สำหรับ RAM ผมเลือก DDR4 ตามเมนบอร์ด
ส่วน bus speed ก็เลือกที่บอร์ดสามารถรองรับได้ นั่นคือ 2133
ความจุนั้น ผมเลือก 4GB ครับ ราคาประมาณ 800 บาท
(สำหรับใครมีงบเหลือก็เอา 2 ตัวมาทำ Dual channel กัน จะดีกว่าซื้อ 8GB ตัวเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้น เมนบอร์ดต้องรองรับการทำงานแบบ Dual channel ด้วยครับ)
RAM ส่วนใหญ่จะรับประกัน LifeTime

 

4. Harddisk -

สำหรับการทำงานปกติ สามารถใช้ HDD 500GB-1TB หมุน 7200 RPM ได้เลย
ราคาที่แนะนำ 1500-2000 บาท รับประกัน 3-5ปี
แต่หากใครต้องการ speed up เปิด-ปิดเครื่องไว ใช้งานโปรแกรมทั่วไปได้ลื่นๆ 
แนะนำให้ใช้ Solid state drive แล้วจะไม่ผิดหวัง ราคาตามความจุ 120-240GB
ราคาแนะนำตั้งแต่ 1,500-3,000 บาท

 

5. Case

Case คอมพิวเตอร์ มีให้เลือกสรรหลากหลายยี่ห้อ  มีทั้งแบบที่มาพร้อมกับ power supply และแบบเคสเปล่า
สิ่งสำคัญที่การเลือกคือ ให้ดูที่เรื่องกำลังไฟจาก power supply และขนาดที่หมาะสมกับอุปกรณ์ทั้งหมดด้านบนที่กล่าวมา
อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การระบายความร้อน โดยเลือกเคสที่มีพัดลมที่ออกแบบเรื่อง air flow ได้ดี เช่น ลมเข้าข้างหน้า  ออกข้างหลัง
เรื่องกำลังไฟ power supply ก็เลือกกำลังจ่าย 350watt ขึ้นไป ถ้าเป็นแบบวัตต์เต็ม หรือสัก 80% ก็จะดีมาก
ด้านหน้า case ควรมีพอร์ต USB อย่างน้อย 2ช่อง หากมีช่อง card reader ก็ยิ่งดี

ราคาเคสในปัจจุบันมีตั้งแต่ 600-2,000 บาท นั้นคือราคาที่แนะนำ แล้วแต่วัสดุ อุปกรณ์เสริม และการออกแบบ และตังค์ในกระเป๋า

 

6. Display Monitor

สิ่งสำคัญคือ งบที่มี นอกนั้นก็เลือกตามการใช้งาน
6.1 ขนาดของจอที่เหมาะแก่การใช้งานทั่วไปคือ 19-22 นิ้ว
6.2 เลือกเป็นแบบ LED เพราะประหยัดพลังงานมากกว่า LCD
6.3 เลือก connection port ตามการใช้งาน เช่น HDMI, DVI, D-SUB
6.4 Resolution ความละเอียดหน้าจอ เช่น HD, Full HD, Ultra HD
6.5 Response time ยิ่งน้อยยิ่งดี แต่  6ms กับ 4ms ไม่ได้ต่างกันเลย ถ้าใช้ตามอง
6.6 Contrat ratio, Brightness ตัวเลขมาก

 

7. Graphic card

อันที่จริงแล้วการ์ดจอนั้นไม่ได้จำเป็นกับ Home use เลย เพราะแค่ chip graphic ที่ฝังมากับ CPU หรือ VGA on board ก็เพียงพอแล้ว
แต่หากมีงบมากพอ และอยากได้ไว้เล่นกราฟฟิคเบาๆ ผมก็แนะนำการ์ดจากขนาด 1-2GB memory DDR3 up Interface 64-128bit
ส่วนตัวเลข engine, memory clock ก็เลือกตัวสูงๆ ไว้ 
Interface PCIExpress 2.0
จะเลือก chip ของ nVidia หรือ AMD ก็สุดแล้วแต่ความชอบ
ผมแนะนำเลือก ตัวที่ราคาไม่เกิน 2,000 บาท

 

8. Other 

อุปกรณ์ที่เหลือ Optical drive, Mouse, Keyboard ก็สามารถเลือกเอาตามความชอบเลยครับ
เพราะแต่ละรุ่นก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ ยิ่งในแง่การใช้งานแล้วด้วย

 

สำหรับ Computer ราคาต่ำสุดที่ 10,800 บาท

อุปกรณ์ ราคา
CPU Intel celeron G3900 1,400
MB Asrock HDV H110 2,000
RAM DDR4 -4GB 800
HDD SSD 240GB  2,500
จอ 19"  2,600
เคส+power 1,200
เม้าส์ คีย์บอร์ด 300
รวมทั้งสิ้น 10,800

สำหรับใครที่มีคอมเก่าๆ ที่บ้านอยู่แล้ว แต่อยาก upgrade ให้เป็นคอมใหม่
ก็เลือกซื้อแค่บางส่วน เพื่อแทนของเดิมได้ โดย มีเพียง 3 อย่าง ที่เป็นแกนนำสำคัญ คือ

CPU + MainBoard + RAM
ราคาการอับเกรด จะอยู่ที่ 4,500-5,000 บาท

ท้ายนี้ผมแนะนำว่า หากคิดว่างบน้อย ก็เลือกเป็นการอับเกรดดีกว่า เพราะผมเคยอับเกรดคอมให้พ่อใช้ที่บ้าน
จ่ายไป 4พันนิดๆ โดยเปลี่ยนเพียง CPU + MB + RAM +CASE+ Mouse/Keyboard  เท่านี้พ่อก็เหมือนได้คอมฯใหม่
ใช้งานผ่านมาก็ 3 ปีแล้ว ยังไม่เคยเสีย หรือลงวินโดวน์ใหม่เลย

ข้อดีของการเลือกซื้อ computer แบบประกอบ
1. สามารถเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ได้เอง ตามความต้องการ
2. อุปกรณ์แต่ละตัว มีการรับประกันแยกชิ้น ไม่ได้ประกันรวมเป็นเครื่องเดียวเหมือน computer set
3. เวลามีชิ้นส่วนใดเสียหาย  ก็ถอดไปเคลมเฉพาะส่วน ไม่ต้องยกไปทั้งเครื่อง

ข้อเสีย
1. ต้องทำการศึกษาข้อมูลทางเทคนิค ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์แต่ละตัวก่อนจะซื้อ
2. การทำงานของระบบโดยรวม อาจจะไม่มีเสถียรภาพ หากอุปกรณ์ทำงานไม่ support กัน
เช่น ความเร็ว Bus ของ CPU, RAM และ Chip Mainboard ทำงานไม่สัมพันธ์กัน แต่มีความเป็นไปได้น้อยมาก


คราวหน้าจะนำข้อมูล สเปค Notebook มาแนะนำกัน
ท่านใดสงสัยในข้อมูล หรืออยากปรึกษาการเลือกซื้ออุปกรณ์ไอทีคอมพิวเตอร์
หากผมรู้ ผมยินดีให้คำแนะนำครับผม

Turn Back